ประวัติ
วัดหนองโว้ง เป็น พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘ บ้านหนองโว้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๗๖ ไร่ ๒ งาน ๙๕.๘๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๐๗๙ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่พ.ศ.๒๒๔๒ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๙ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ . ๒๕๓๖
วัดหนองโว้ง เป็น พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘ บ้านหนองโว้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๗๖ ไร่ ๒ งาน ๙๕.๘๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๐๗๙ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่พ.ศ.๒๒๔๒ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๙ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ . ๒๕๓๖
เขตที่ตั้งและอุปจารของวัด
ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗๖ ไร่ ๒ งาน ๙๕.๘๐ ตารางวา เป็นที่เนิน บริเวณกว้าง มีหมู่บ้านล้อมรอบ และมีแม่น้ำยมไหลผ่านด้านหลังวัด ตั้งอยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๔– ๑๔ สุดเขตด้านทิศใต้ของอำเภอสวรรคโลก และอยู่ติดกับตำบลสามเรือน ด้านเหนือสุดของอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัยระยะทางจากหน้าวัดหนองโว้งถึงอำเภอสวรรคโลกประมาณ ๑๕ กิโลเมตร จากวัดหนองโว้งถึงจังหวัดสุโขทัยประมาณ ๒๓ กิโลเมตร อาณาเขต
ทิศเหนือ ยาว ๓๓๕ เมตร จดทางสาธารณะประโยชน์
ทิศใต้ ยาว ๔๘๕ เมตร จดทางสาธารณะประโยชน์
ทิศตะวันออก กว้าง ๒๗๕ เมตร จดถนนจรดวิถีถ่องสายสุโขทัย-สวรรคโลก
ทิศตะวันตก กว้าง ๒๓๕เมตร จดทางสาธารณะประโยชน์และแม่น้ำยม
ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗๖ ไร่ ๒ งาน ๙๕.๘๐ ตารางวา เป็นที่เนิน บริเวณกว้าง มีหมู่บ้านล้อมรอบ และมีแม่น้ำยมไหลผ่านด้านหลังวัด ตั้งอยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๔– ๑๔ สุดเขตด้านทิศใต้ของอำเภอสวรรคโลก และอยู่ติดกับตำบลสามเรือน ด้านเหนือสุดของอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัยระยะทางจากหน้าวัดหนองโว้งถึงอำเภอสวรรคโลกประมาณ ๑๕ กิโลเมตร จากวัดหนองโว้งถึงจังหวัดสุโขทัยประมาณ ๒๓ กิโลเมตร อาณาเขต
ทิศเหนือ ยาว ๓๓๕ เมตร จดทางสาธารณะประโยชน์
ทิศใต้ ยาว ๔๘๕ เมตร จดทางสาธารณะประโยชน์
ทิศตะวันออก กว้าง ๒๗๕ เมตร จดถนนจรดวิถีถ่องสายสุโขทัย-สวรรคโลก
ทิศตะวันตก กว้าง ๒๓๕เมตร จดทางสาธารณะประโยชน์และแม่น้ำยม
ประวัติความเป็นมา
วัดหนองโว้งสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๒๔๒ เป็นวัดเก่าโบราณสร้างสมัยสุโขทัยไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ภายหลังเป็นสำนักสงฆ์หรือเป็นวัดป่าสำหรับเผาศพและฝังศพ เพราะบริเวณด้านเหนือวัด ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นที่ตั้งศาลเมืองบางยม ปัจจุบันศาลเมืองบางยมได้ถูกแม่น้ำยมเซาะพังทลายลงแล้วตามประวัติเดิม สมัยโบราณด้านหน้าวัดหันเข้าหาแม่น้ำยม เพราะเป็นทางคมนาคมทางน้ำ ชาวมอญซึ่งมีอาชีพขาย เครื่องปั้นดินเผา มาขายตามลำน้ำยมและได้จอดเรือพักอาศัยในบริเวณวัด นำโอ่งมาขายในวัดเป็นจำนวนมากจนกระทั่งชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองโอ่ง ต่อมาภายหลังแม่น้ำยมได้เซาะตลิ่งพังเป็นรูปเว้าโค้ง ซึ่งภาษาพื้นบ้านเรียกความ
เว้าโค้งว่า โว้ง จึงพากันเรียกชื่อวัดว่า วัดหนองโว้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๑ สมัยพระอุปัชฌาย์พุกเป็นเจ้าอาวาส เจ้าเมืองบางยม มีความเลื่อมใสจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๙ กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร ได้ให้ช่างฝีมืออเขียนจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพระเจ้าสิบชาติและภาพพุทธประวัติบางตอนไว้อย่างสวยงามมากและดำเนินการก่อสร้างมณฑปแบบทรงไทยจตุรมุข เป็น
ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ สมัยพระครูวินัยธรทองคำ ยสสุวณฺโณ(ภายหลัง พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นที่พระครูอรรถกิจโกศล พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นที่ พระสังวรกิจโกศล) เป็นเจ้าอาวาส หม่อมเจ้าอัศนีฟ่องฟ้า เทวกุล ณ อยุธยา เสด็จมาวางศิลาฤกษ์ ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์ในการก่อสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย ๒ องค์ เรียกนามเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปตั้งแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน ว่า หลวงพ่อสองพี่น้อง เมื่อสร้างเสร็จ สมเด็จพระวันรัต ได้ประกอบพิธียกช่อฟ้าในปี ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสังคายนาเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของสงฆ์
วัดหนองโว้งสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๒๔๒ เป็นวัดเก่าโบราณสร้างสมัยสุโขทัยไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ภายหลังเป็นสำนักสงฆ์หรือเป็นวัดป่าสำหรับเผาศพและฝังศพ เพราะบริเวณด้านเหนือวัด ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นที่ตั้งศาลเมืองบางยม ปัจจุบันศาลเมืองบางยมได้ถูกแม่น้ำยมเซาะพังทลายลงแล้วตามประวัติเดิม สมัยโบราณด้านหน้าวัดหันเข้าหาแม่น้ำยม เพราะเป็นทางคมนาคมทางน้ำ ชาวมอญซึ่งมีอาชีพขาย เครื่องปั้นดินเผา มาขายตามลำน้ำยมและได้จอดเรือพักอาศัยในบริเวณวัด นำโอ่งมาขายในวัดเป็นจำนวนมากจนกระทั่งชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองโอ่ง ต่อมาภายหลังแม่น้ำยมได้เซาะตลิ่งพังเป็นรูปเว้าโค้ง ซึ่งภาษาพื้นบ้านเรียกความ
เว้าโค้งว่า โว้ง จึงพากันเรียกชื่อวัดว่า วัดหนองโว้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๑ สมัยพระอุปัชฌาย์พุกเป็นเจ้าอาวาส เจ้าเมืองบางยม มีความเลื่อมใสจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๙ กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร ได้ให้ช่างฝีมืออเขียนจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพระเจ้าสิบชาติและภาพพุทธประวัติบางตอนไว้อย่างสวยงามมากและดำเนินการก่อสร้างมณฑปแบบทรงไทยจตุรมุข เป็น
ที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ สมัยพระครูวินัยธรทองคำ ยสสุวณฺโณ(ภายหลัง พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นที่พระครูอรรถกิจโกศล พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นที่ พระสังวรกิจโกศล) เป็นเจ้าอาวาส หม่อมเจ้าอัศนีฟ่องฟ้า เทวกุล ณ อยุธยา เสด็จมาวางศิลาฤกษ์ ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์ในการก่อสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย ๒ องค์ เรียกนามเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปตั้งแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน ว่า หลวงพ่อสองพี่น้อง เมื่อสร้างเสร็จ สมเด็จพระวันรัต ได้ประกอบพิธียกช่อฟ้าในปี ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสังคายนาเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของสงฆ์
วัดหนองโว้ง
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่๑ มกราคม พ.ศ.๒๓๙๙
เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองสุโขทัย
เป็นศูนย์กลางของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางด้านศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดมา
มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เป็นวัดหลวงที่เจ้าเมืองบางยมสร้างขึ้น
และอุปถัมภ์สืบต่อกันมาโดยตลอด มีหลักฐานปรากฎว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
โปรดเกล้าฯตั้งหลวงพินิจคดี เป็นที่ “พระภักดีราชา” เจ้าเมืองบางยม ศักดินา ๑๐๐๐ ไร่ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ร.ศ.๑๐๘(พ.ศ.๒๔๓๒)(ร.๕
รล.-มท.เอกสารเย็บเล่มกระทรวงมหาดไทยเล่มที่ ๓๘ ลำดับที่๔๙ หน้า ๑๔๘ จ.ศ.๑๒๕๑)
วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๓ เจ้าเมืองสวรรคโลกของพระราชทนสัญญาบัตรให้พระอาจารย์เคลือบวัดหนองโว้ง ที่สมณศักดิ์ พระครูธรรมรุจี (ร.๕ม๒.๑๒ก/๗ ใบบอกเมืองสวรรคโลก แผ่นที่ ๓๖๔ จ.ศ.๑๒๕๒)
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอาจารย์เคลือบ วัดหนองโว้ง เป็นที่ “พระครูโยคาภิรมย์” เจ้าคณะเมืองบางยม (เอกสารเย็บเล่ม กระทรวงมหาดไทย เล่มที่๓๙หน้า ๒๘๘)
ลุปี พ.ศ. ๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จเยี่ยมวัดหนองโว้งเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๕๗ เช้า ๓ โมง ๑๙ นาที เรือยนต์จูงเรือที่นั่งพร้อมด้วยพระสงฆ์แลข้ารรราชการผู้ตามเสด็จเคลื่อนจากท่าหน้าวัดกุฏีจีน(ปัจจุบันวัดศรีนิโครธาราม อ.ศรีสำโรง) ขึ้นมาตามลำน้ำยม เช้า ๔ โมง ๔๔ นาที ถึงวัดหนองโว้งอันเป็นเขตเมืองสวรรคโลก ซึ่งเป็นที่ประทับร้อน มีพระสงฆ์ในเมืองนี้ประมาณ ๓๐ รูปเศษ แลข้าราชการอีกหลายนายมีพระเกษตรสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองเป็นต้น มาคอยรับเสด็จที่วัดนี้ เสด็จขึ้นประทานปฏิสันถารแก่ผู้มาคอยรับเสด็จตามสมควร แล้วเสด็จขึ้นประทับบนศาลาการเปรียญ มีราษฎรนำภัตตาหารมาถวายเป็นอันมาก เสวยแล้วประทานพระธรรมเทศนาอนุโมทนาภัตตาทาน ด้วยเรื่องสุขเกิดแต่การมีทรัพย์ แลหนทางอันจะให้เกิดทรัพย์ จบแล้วทรงอำนวยพรแลประทานของแจกแก่พระสงฆ์ในวัดนั้นแลราษฎรผู้มาบำเพ็ญกุศลตามสมควรแล้ว เสด็จลงจากศาลาเที่ยวทอดพระเนตรสถานที่ต่าง ๆ ในวัดนั้น วัดนี้เป็นวัดใหญ่ มีของก่อสร้างใหม่มากทั้งพื้นวัดสะอาดสะอ้านดี พระอุปัชฌาย์พุก อายุ ๘๐ พรรษา ๕๐ เป็นพระอธิการ พระแสง อายุ ๕๘ พรรษา ๕ ผู้เคยเป็นเจ้าคณะเมืองนี้มาก่อน ลาสิกขาบทแล้วกลับมาบวชอีกเป็นรองอธิการ ทอดพระเนตรเห็นกำแพงแก้วซึ่งยังทำไม่แล้วค้างอยู่ทรงช่วยการปฏิสังขรณ์เป็นส่วนพระองค์ แล้วเสด็จกลับลงเรือที่นั่งบ่ายโมง ๔๔ นาที เรื่อเคลื่อนออกจากวัดหนองโว้ง(เรื่องระยะทางสมเด็จพระมหาสมณเจ้าเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.๒๔๕๗,หน้า ๑๓๘)
พ.ศ.๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดพระราชทานให้ พระปลัดอุดม สมาจาโร วัดหนองโว้ง เป็นที่ “พระครูสุนันท์คุณาภรณ์” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม วัดหนองโว้งใหม่ว่า “วัดวาปีวงการาม”
พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ประทานสัญญาบัตร พัดยศ ผ้าไตร แก่พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ในการนี้ได้ประทานอนุญาตอัญเชิญพระนามภิไธยย่อ ญสส.ประดิษฐานที่หน้าพระตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ภายในวัดหนองโว้ง
พ.ศ.๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกวัดหนองโว้ง ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๖
พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ประทานสัญญาบัตร พัดยศ ผ้าไตร แก่พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ปัจจุบันวัดหนองโว้ง เป็นศูนย์กลางการปกครอง การเผยแผ่ การศึกษา การบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอสวรรคโลก เป็นที่ตั้ง สำนักงานเจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเมืองบางยม ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต อุทยานการศึกษา สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดสุโขทัย แหล่งเรียนรู้ชุมชน
วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๓ เจ้าเมืองสวรรคโลกของพระราชทนสัญญาบัตรให้พระอาจารย์เคลือบวัดหนองโว้ง ที่สมณศักดิ์ พระครูธรรมรุจี (ร.๕ม๒.๑๒ก/๗ ใบบอกเมืองสวรรคโลก แผ่นที่ ๓๖๔ จ.ศ.๑๒๕๒)
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอาจารย์เคลือบ วัดหนองโว้ง เป็นที่ “พระครูโยคาภิรมย์” เจ้าคณะเมืองบางยม (เอกสารเย็บเล่ม กระทรวงมหาดไทย เล่มที่๓๙หน้า ๒๘๘)
ลุปี พ.ศ. ๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จเยี่ยมวัดหนองโว้งเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๕๗ เช้า ๓ โมง ๑๙ นาที เรือยนต์จูงเรือที่นั่งพร้อมด้วยพระสงฆ์แลข้ารรราชการผู้ตามเสด็จเคลื่อนจากท่าหน้าวัดกุฏีจีน(ปัจจุบันวัดศรีนิโครธาราม อ.ศรีสำโรง) ขึ้นมาตามลำน้ำยม เช้า ๔ โมง ๔๔ นาที ถึงวัดหนองโว้งอันเป็นเขตเมืองสวรรคโลก ซึ่งเป็นที่ประทับร้อน มีพระสงฆ์ในเมืองนี้ประมาณ ๓๐ รูปเศษ แลข้าราชการอีกหลายนายมีพระเกษตรสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองเป็นต้น มาคอยรับเสด็จที่วัดนี้ เสด็จขึ้นประทานปฏิสันถารแก่ผู้มาคอยรับเสด็จตามสมควร แล้วเสด็จขึ้นประทับบนศาลาการเปรียญ มีราษฎรนำภัตตาหารมาถวายเป็นอันมาก เสวยแล้วประทานพระธรรมเทศนาอนุโมทนาภัตตาทาน ด้วยเรื่องสุขเกิดแต่การมีทรัพย์ แลหนทางอันจะให้เกิดทรัพย์ จบแล้วทรงอำนวยพรแลประทานของแจกแก่พระสงฆ์ในวัดนั้นแลราษฎรผู้มาบำเพ็ญกุศลตามสมควรแล้ว เสด็จลงจากศาลาเที่ยวทอดพระเนตรสถานที่ต่าง ๆ ในวัดนั้น วัดนี้เป็นวัดใหญ่ มีของก่อสร้างใหม่มากทั้งพื้นวัดสะอาดสะอ้านดี พระอุปัชฌาย์พุก อายุ ๘๐ พรรษา ๕๐ เป็นพระอธิการ พระแสง อายุ ๕๘ พรรษา ๕ ผู้เคยเป็นเจ้าคณะเมืองนี้มาก่อน ลาสิกขาบทแล้วกลับมาบวชอีกเป็นรองอธิการ ทอดพระเนตรเห็นกำแพงแก้วซึ่งยังทำไม่แล้วค้างอยู่ทรงช่วยการปฏิสังขรณ์เป็นส่วนพระองค์ แล้วเสด็จกลับลงเรือที่นั่งบ่ายโมง ๔๔ นาที เรื่อเคลื่อนออกจากวัดหนองโว้ง(เรื่องระยะทางสมเด็จพระมหาสมณเจ้าเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.๒๔๕๗,หน้า ๑๓๘)
พ.ศ.๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดพระราชทานให้ พระปลัดอุดม สมาจาโร วัดหนองโว้ง เป็นที่ “พระครูสุนันท์คุณาภรณ์” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม วัดหนองโว้งใหม่ว่า “วัดวาปีวงการาม”
พ.ศ. ๒๕๓๔ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ประทานสัญญาบัตร พัดยศ ผ้าไตร แก่พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ในการนี้ได้ประทานอนุญาตอัญเชิญพระนามภิไธยย่อ ญสส.ประดิษฐานที่หน้าพระตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ภายในวัดหนองโว้ง
พ.ศ.๒๕๓๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกวัดหนองโว้ง ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๖
พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธาน ประทานสัญญาบัตร พัดยศ ผ้าไตร แก่พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ปัจจุบันวัดหนองโว้ง เป็นศูนย์กลางการปกครอง การเผยแผ่ การศึกษา การบริหารงานคณะสงฆ์อำเภอสวรรคโลก เป็นที่ตั้ง สำนักงานเจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเมืองบางยม ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต อุทยานการศึกษา สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดสุโขทัย แหล่งเรียนรู้ชุมชน
พระพุทธรูปหลวงพ่อสองพี่น้อง
เป็นพระพุทธรูปสมัย สุโขทัย ปางมารวิชัย ๒ องค์ เนื้อทองสำริด
ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว และ ๓๑.๙ นิ้ว ตามลำดับ
ตามประวัติเล่าสืบกันมาว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๖
ชาวบ้านหนองโว้งได้บุกถางป่าบริเวณบ้านปากน้ำซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหนองโว้งประมาณ ๔
กิโลเมตร ได้พบซากอุโบสถเก่าซึ่งหักพังเป็นเนินดินสูง ลักษณะคล้ายจอมปลวก
มีต้นไม้และเถาวัลย์ปกคลุมหนาแน่น
ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นวัดร้างจึงช่วยกันขุดเนินดินออกและได้พบพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย
จำนวน ๔ องค์ องค์ใหญ่ ๒ องค์ และองค์เล็ก ๒ องค์ ชาวบ้านจึงนำเรื่องดังกล่าวมานมัสการพระอุปัชฌาย์พุกเจ้าอาวาสวัดหนองโว้งสมัยนั้น
เพื่อให้นำมาบูชาสักการะที่วัด แต่ชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ได้มอบให้เพียง ๒
องค์ ส่วนอีก ๒ องค์ ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดปากน้ำ
ระยะแรกได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ได้มาประดิษฐานไว้ที่มณฑปเนื่องจากยังมิได้ก่อสร้างวิหาร
เป็นที่กราบไหว้บูชาของชาวบ้านจนสิ้นสมัยพระอุปัชฌาย์พุก ต่อมาสมัยพระสังวรกิจโกศล
ได้ก่อสร้างวิหารแล้วจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในวิหาร เมื่อประมาณปี ๒๔๗๒
ชาวบ้านได้เรียกนามพระพุทธรูปทั้งสององค์ว่า หลวงพ่อสองพี่น้อง
นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านใกล้เคียง และต่างถิ่น
ต่างกราบไหว้และเลื่อมใสศรัทธามาสักการะบูชา ขอพร มาโดยตลอด
และได้จัดงานฉลองเป็นประจำทุกปี โดยกำหนด ขึ้น ๑๒ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำและแรม ๑ ค่ำ
เดือนสามของทุกปีจนกระทั่งปัจจุบัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น