คำอาราธนาอุโบสถศีล
มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ
อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ
อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ตะติยัม มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ
อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
(สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)(ต่อไปนี้
คอยตั้งใจฟังรับสรณคมน์และศีลโดยเคารพ
คือประนมมือว่าตามกำหนดที่พระสงฆ์บอกเป็นตอนๆ ว่า)
นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ว่า ๓ ครั้ง )
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม
ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เจตนา
เว้นจากการฆ่าด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
๒. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ
เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว,ด้วยตัวเอง และใช้ให้ผู้อื่นฉ้อฉล
๓. อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ
เว้นจากการประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ
เว้นจากการพูดเท็จ คำล่อลวงผู้อื่น
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ
เว้นจากการ ดื่มน้ำเมา สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ
เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ( ตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ )
๗. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนา
มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ
เว้นจากการตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ
และดูการละเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล และลูบทาทัดทรวงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และของหอม
อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ
เว้นจากการนั่งนอนบนเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณ
และที่นอนสูงใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรงดงามต่างๆ
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง
พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ
ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง
สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ, ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้,
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้, เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี
ไม่ให้ขาดไม่ให้ทำลาย, ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้(หยุดรับเพียงเท่านี้)
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
อุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ
(พึงรับพร้อมกันว่า) อามะ ภันเต
(แล้วพระสงฆ์จะบอกอานิสงส์ของศีลต่อไป
ดังนี้)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
บุคคลจะมีความสุขเพราะศีล
สีเลนะ โภคสัมปะทา
บุคคลจะมีโภคทรัพย์เพราะศีล
สีเลนะ นิพพุติง
ยันติบุคคลจะตรัสรู้เข้าสู่นิพพานได้เพราะศีล
ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
จงพากันทำศีลให้บริสุทธิ์
แล้วจะมีความสุขตลอดไป
(พึงกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง
ต่อนี้นั่งราบพับเพียบ ประนมมือฟังธรรม เมื่อจบแล้วพึงให้สาธุการ
และสวดประกาศตนพร้อมกัน)?
การรักษาอุโบสถศีล มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
"แม้ความสุขของพระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน
๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะศีลนั้นทำให้เกิดในสวรรค์"
อุโบสถศีล เป็นกุศลวิธีที่นำพามนุษย์ไปสู่สวรรค์มาตั้งแต่มนุษย์ยุคต้นกัปป์
ถ้าเป็นอุโบสถในพระพุทธศาสนา เรียกว่า อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘
ซึ่งก็หมายถึงรักษาศีล ๘ ในวันพระนั่นเอง ในยุคสมัยที่ยังไม่มีพระพุทธศาสนา
ผู้ปรารถนาสวรรค์จะชักชวนกันรักษาอุโบสถศีล เพราะถือว่าเป็นอริยประเพณีที่มีมาช้านาน
แม้กระทั่งพระเจ้าจักรพรรดิราช
ก่อนจะทรงครองความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ก็ต้องสมาทานอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัดทุกๆ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ อานิสงส์ของอุโบสถศีล?ทำให้
รัตนะทั้ง ๗ ประการ มีจักรแก้ว เป็นต้น บังเกิดขึ้น เป็นของคู่บุญ ทำให้พระองค์ทรงสามารถปกครองโลกให้เกิดสันติสุข
ครั้นละโลกแล้วก็ได้ไปเสวยสุขในสุคติโลกสวรรค์?
อุโบสถศีล แปลว่า
การเข้าอยู่จำโดยถือศีล ๘ ข้อ วันอุโบสถหรือวันพระนั้น เป็นวันที่เราจะต้อง
อยู่เยี่ยงพระ คือบำเพ็ญเนกขัมมะนั่นเอง ศีลแปดที่รักษากันในวันพระ เรียกว่า อุโบสถศีลผู้ครองเรือนทั่วไปไม่สะดวกถือศีล
๘ ได้ทุกวัน ก็จะหาโอกาสมาถือศีลกันเฉพาะวันพระเช่นนี้จึงเรียกว่า รักษาอุโบสถศีล
ระยะเวลาของการรักษาอุโบสถศีล
การรักษาอุโบสถ มี ๓ อย่าง สามารถเลือกรักษาได้ตามความพร้อมของแต่ละบุคคล
คือ
๑. ปกติอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้
ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือ วัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
๒. ปฏิชาครอุโบสถ
คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน โดยการถือเพิ่มการรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน
เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง จึงรวมเป็นรักษาคราวละ
๓ วัน คือ วันรับ วันรักษา และวันส่ง รวม ๓ วัน ๓ คืน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คือ
อุโบสถที่รักษาครั้งละหลายๆ วัน เช่น ตลอดพรรษา ๓ เดือนบ้าง ตลอด ๑ เดือนบ้าง
หรือครึ่งเดือนจำนวน ๑๕ วันบ้าง
อุโบสถศีล เป็นศีล สำหรับ
๑. ฆราวาสผู้ครองเรือน ซึ่งปรารถนาความสุขอันยอดเยี่ยมในกาลปัจจุบันและอนาคต
๒. ผู้สะสมบารมี
เพื่อรู้ธรรมเห็นธรรมและบรรลุมรรคผลนิพพาน
ศีลอุโบสถนั้น มีองค์ประกอบทั้งหมด ๘ ข้อ ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง
ก็ไม่เรียกว่าศีลอุโบสถตาม พุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว
ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ พูดง่ายๆ ว่า ขาดศีลข้อเดียวก็ขาดหมดทั้ง ๘ ข้อ
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ
อุโบสถศีล มี ๘ ประการ?อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี
งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี
งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. อพรหมจริยา เวรมณี
งดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวรมณี
งดเว้นจากการกล่าวเท็จ รวมถึงวจีกรรมในรูปแบบต่างๆ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี
งดเว้น จากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี
งดเว้นจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาล
๗.
นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปน-ธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี
งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล
ลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม
เครื่องทาอันจัดว่าเป็นการแต่งตัว
๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี
งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่? เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีลนั้น
ก็เพื่อทำให้จิตใจสงบ ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามารมณ์
แต่ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถือ
เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ผู้ที่ยังไม่ปรารถนาออกบวช?
โดยปกติวันพระ พุทธศาสนิกชน
ที่สะดวกก็จะพากันแต่งชุดขาวไปสมาทานอุโบสถศีล และฟังธรรมที่วัด
แล้วพักอาศัยอยู่ที่วัดจนกว่าจะครบกำหนด ถ้าไม่ได้ไปวัด ก็จะตั้งใจสมาทานศีล
ด้วยตนเอง จะเปล่งวาจาสมาทานหรือเพียงแต่ตั้งเจตนาไว้ก็ได้ทั้งนั้น
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส
อุปมาถึงอานิสงส์ ของการรักษาอุโบสถศีลไว้ว่า ถ้าจะนำมาเปรียบกับสมบัติของพระราชา
ที่แม้จะครองความเป็นใหญ่ถึง ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวของผลบุญอันเกิดจากการ
รักษาอุโบสถเลย เพราะสมบัติมนุษย์?เป็นสมบัติหยาบเหมือนสมบัติของคนกำพร้า
มีความสุขได้ไม่กี่ร้อยปีก็ต้องพลัดพรากซึ่งเทียบไม่ได้กับการได้เสวยทิพยสมบัติอันยาวนานในสวรรค์ที่เกิดจากอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ
การรักษาอุโบสถศีลนี้
แม้ว่าจะมีโอกาสรักษาได้ไม่นาน
แต่กลับสามารถส่งผลให้มีอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาดได้?ดังเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว ในสมัยพุทธกาล
อานิสงส์ของการรักษาอุโบสถศีล
จะเห็นได้ว่า
เพียงการรักษาอุโบสถครึ่งวันและทำด้วยความเต็มใจ ยังได้อานิสงส์ขนาดนี้
แล้วถ้าหากใครได้รักษาอยู่เนืองนิตย์อานิสงส์นั้นพรรณนา อย่างไรก็ไม่หมด
เป็นบุญใหญ่ที่จะนำพาให้ได้สวรรค์สมบัติ เวียนวนอยู่แต่ในสุคติภูมิเท่านั้น
เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ
ในที่สุดจะได้นิพพานสมบัติ เข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะ
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจะได้รับอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาด อย่างน้อยๆ
ก็สามารถแบ่งออกเป็น ๕ ข้อ คือ?
๑. ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่
เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ
๒. เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล
ย่อมฟุ้งขจรไปไกล
๓. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ
ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน
๔. ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ คือ
ไม่หลงเผลอสติในเวลาตาย
๕. ผู้มีศีล
ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทพ
นอกจากนี้ ศีล
ยังเป็นบาทเบื้องต้นแห่งสมาธิ ทำให้ใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ดังนั้นคนที่ตั้งใจรักษาศีลได้บริสุทธิ์ก็จะมีผลต่อการนั่งสมาธิไปด้วย
ดังนั้น พุทธศาสนิกชนที่ดีก็ควรที่จะตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์
ทั้งยังต้องเป็นกัลยาณมิตรชักชวนคนรอบข้างมาสั่งสมบุญใหญ่
ที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้แข็งแรงยิ่งขึ้นไป
บุคคลแม้จะงดงามด้วยเครื่องประดับอันมีค่า
ก็ยังไม่งามเท่าผู้มีศีลเป็นอาภรณ์ ผู้มีศีลย่อมติเตียนตนเองไม่ได้
เมื่อพิจารณาถึงศีลที่บริสุทธิ์ ย่อมเกิดปีติทุกเมื่อ
ศีลจึงเป็นรากฐานแห่งความดีทุกอย่างและกำจัดความชั่วทั้งปวง
บทความคัดลอก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น